“แซนโฎนตา” เป็นภาษาเขมร คำว่า “แซน” ภาษาไทยตรงกับคำว่า “เซ่น” หมายถึงการเซ่นไหว้ ส่วนคำว่า “โฎนตา” แปลว่า ยายตา ใกล้เคียงกับคำว่าบรรพบุรุษ ญาติโกโหติกา ความหมายของแซนโฎนตา คือการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะบรรพบุรุษหรือญาติที่ใกล้ชิดและหมายรวมทั้งผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยไม่เจาะจงว่าเป็นใครด้วย
เชื่อกันว่าเป็นช่วงเวลาที่ยมบาลจะปลดปล่อยวิญญาณ ให้ขึ้นมาปะปนกับมนุษย์บนโลก เพื่อเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องและรอรับส่วนบุญ ทั้งจากญาติพี่น้องและบุคคลอื่น โดยผ่านพิธีกรรมการทำบุญอุทิศไปให้ ชาวบ้านในชุมชนจึงมีการทำบุญตั้งแต่วันเบ็ณฑ์ตู๊จ จนถึง วันแซนโฎนตาเพื่อเป็นการอุทิศบุญให้กับญาติโกโหติกาที่ล่วงลับไปแล้วเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำบุญบูชาบรรพบุรุษมีขึ้นในวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ของทุกปีชาวสุรินทร์หรือกลุ่มชาติพันธุ์เขมรมีความเชื่อว่า เมื่อวันดังกล่าวนี้เวียนมาถึงวิญญาณบรรพบุรุษผู้ถึงกาละไปก่อนแล้วจะพากันเดินทางมาเยือนเยียนลูกหลานหรือญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อรวมโฮปปะชา (รับประทาน) ข้าวปลา อาหาร ของหวาน ของคาว เครื่องดื่มต่าง ๆ การเซ่นล้วนแล้วแต่มีอาหารที่บรรพบุรุษเคยชอบเมื่อยังมีชีวิตอยู่เมื่อเครื่องเช่นทุกอย่างพร้อมแล้วผู้อาวุโสในพิธีก็จะถามถึงลูกหลานคนนั้นคนนี้ เมื่อพร้อมหน้าเป็นที่พอใจแล้วก็จะเริ่มทำการเซ่นโดยจุดธูปเทียนยกขันห้าไหว้ และเรียกดวงวิญญาณบรรพชนให้มารับเครื่องเซ่นไหว้แล้วรินน้ำให้ล้างมือในเครื่องดื่มทั้งหนัก และเบาชี้บอกให้วิญญาณรู้ว่ามีเครื่องเซ่นอะไรบ้างเสียงเรียกวิญญาณของบรรพชนเรียกวิญญาณเอ่ยชื่อให้ได้มากที่สุดขณะเดียวกันก็รินเครื่องดื่มไปด้วย
สำหรับในปีนี้ จัดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง
จินดาพร คล้ายคลึง : รายงาน